Welcome..to..slide

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามหน่วยที่ 13

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่13 1.จงอธิบายถึงธรรมชาติและแหล่งกำเนิดเสียงมาพอเข้าใจตอบ ธรรมชาติของเสียง เสียงเป็นคลื่นกลชนิดคลื่นตามยาวเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ และสามารถถ่ายโอนพลังงานการสั่นของตัวก่อกำเนิดเสียงไปในตัวกลางยืดหยุ่น เช่น อากาศ ของเหลว ของแข็ง เป็นต้น เสียงไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศไปได้ เสียงเกิดขึ้นได้อย่าง จากการศึกษาพบว่าเมื่อวัตถุเกิดการสั่นจะเกิดสียงขึ้น เช่น การสั่นของเส้นเสียงในกล่องเสียง ขณะมีการเปล่งเสียงพบว่าเมื่อจับที่ลำคอจะรู้สึกว่ามีการสั่นภายในลำคอหรือการสั่นของสายกีตาร์ เมื่อสายกีตาร์สั่นจะเกิดเสียง แต่เมื่อสายกีตาร์หยุุดสั่น เสียงก็จะเงียบไป จากการศึกษาพบว่าการได้ยินเสียงมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. แหล่งกำเนิด 2.ตัวกลาง 3.ผู้ฟังแหล่งกำเนิดเสียง เสียงเกิดจาก การสั่นของวัตถุ เราสามารถทำให้วัตถุสั่นด้วยวิธีการ ดีด สี ตีและเป่า เมื่อแผล่งกำเนิดเสียงเกิดการสั่น จะทำให้โมเลกุลอากาศสั่นตามไปด้วย โดยมีความถี่เท่ากับการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง การสั่นของลำอากาศ ทำให้เกิดการเรียงตัวของโมเลกุลแตกต่างไปจากเดิม บางตำแหน่งโมเลกุลของอากาศจะเคลื่อนที่ไปอยู่ชิดติดกันมากขึ้นเรียกว่าช่วงอัด บางตำแหน่งโมเลกุลของอากาศจะอยู่ห่างกันมากขึ้นเรียกว่าช่วงขยาย ซึ่งพลังงานของการสั่นจะแผ่ออกไปรอบๆแหล่งกำเนิดเสียงตรงกลางส่วนอัดและตรงกลางส่วนขยายโมเลกุลอากาศจะไม่มีการเคลื่อนที่(การกระจัดเป็นศูนย์) แต่ตรงกลางส่วนอัดความดันอากาศจะมากและตรงกลางส่วนขยายความดันอากาศจะน้อยมาก2.จงอธิบายหลักการและองค์ประกอบของการขยายเสียงให้ถูกต้องตอบ การขยายเสียงมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้1 แหล่งต้นเสียง (Input Signal) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตต้นกำเนิดเสียงออกมาเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า เช่น ไมโครโฟน เทปบันทึกเสียง ซีดี และอื่น ๆ2 เครื่องขยายเสียง (Amplifier) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้า จากแหล่งต้นเสียงให้มีสัญญาณแรงขึ้นหลาย ๆ เท่าตัว แล้วส่งต่อไปยังลำโพง3 ลำโพง (Speaker) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า ที่ส่งมาจากเครื่องขยายเสียงให้เป็นคลื่นเสียง ซึ่งมนุษย์เราจะรับฟังได้การทำงานของระบบขยายเสียงเกิดขึ้นเมื่อ Input signal ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อส่งต่อเข้าสู่ Amplifier ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ-Pre-Amp ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าเข้ามาแล้วควบคุมความแรงของสัญญาณนั้นให้มีความแรงของสัญญาณคงที่ สม่ำเสมอ-Tone ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณไฟฟ้า ให้เกิดความไพเราะ เช่น ปรุงแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และปรุงแต่งเสียงแหลม (Treble)-Power Amp ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ปรุงแต่งแล้วให้มีความแรงของสัญญาณเพิ่มขึ้น แล้วส่งไปยังลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นเสียง เพื่อให้มนุษย์เราได้ยิน
3.จงอธิบายหน้าที่และชนิดของไมโครโฟนอย่างน้อย 3 ชนิดตอบ ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่งชนิดของไมโครโฟน แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้นแต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทนเหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง
4.จงอธิบายและหลักการและส่วนประกอบของเครื่องขยายเสียงให้ถูกต้องตอบ
5.ระบบของเครื่องขยายเสียงมีกี่ระบบอะไรบ้างตอบ6.จงอธิบายหน้าที่และประเภทของลำโพงให้ถูกต้องตอบ
7.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้ไมโครโฟนมาอย่างน้อย 3ชนิดตอบ 1.ไม่เคาะหรือเป่าไมโครโฟน2.อย่าให้ไมโครโฟนล้มหรือตกเป็นอันขาด3.ไม่ควรพูดใกล้หรือห่างไมโครโฟนเกินไป โดยทั่ว ๆ ไปจะพูดห่างประมาณ 1-4 นิ้ว ถ้าไมโครโฟนรับเสียงไวมากควรพูดห่างประมาณ 6-12 นิ้ว4.บริเวณใกล้ ๆ ไมโครโฟนควรขจัดเสียงรบกวนอย่าให้หมด เช่น พัดลม, เครื่องปรั อากาศ5.ควรติดตั้งไมโครโฟน ให้ห่างจากลำโพง ถ้าจำเนจะต้องอยู่ใกล้กัน ควรหันหน้า ลำโพงเนีออกไปไมให้มาตั้งฉากกับไมโครโฟน6.ไม่ควรให้ไมโครโฟนเปียกน้ำหรือของเหลว7.หลังจากเลิกใช้ไมโครโฟนควรเก็บใส่กล่องไว้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และ การกระทบกระเทือน
8.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้เครื่องขยายเสียงมาอย่างน้อย 3 ข้อตอบ
9.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้ลำโพงมาอย่างน้อย 3 ข้อ

คำถามหน่วยที่ 11

คำถามหน่วยการเรียนที่11
1.โสตทัศนูปกรณ์ มาจากคำใดบ้างตอบ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Adio-Visual Equipments และมาจากคำประสม โสตะ (การได้ยิน) Audio + ทัศนะ (การมองเห็น) Visual + อุปกรณ์
2.จงเขียนแผนภูมิการแบ่งประเภทของโสตทัศนูปกรให้ถูกต้อง
3.Synchronize Tape คือตอบ เครืองบันทึกเสียงบบสัมพันธ์ภาพและเสียง
4.Dissolve Control Unit คือตอบ เครื่องควบคุมการฉาย
5.Rotary Tray คือตอบ เป็นเครื่องฉายแบบถาดกลม
6.เครื่องฉายฟิล์มสตริฟสามารถใช้ร่วมกับเครื่องฉายตอบ สไลด์
7.ภาพเคลื่อนไหวของภาพยนตร์เกิดจากหลักการตอบ-มอเตอร์-เฟืองหนามเตย-ล้อส่งฟิล์ม (Feed Reel)-กวัก (Intermittent)-ใบพัดตัดแสง (Shutter)-ล้อรับฟิล์ม (Take-up Film)-คลัทช์ (Clutch)
8.ระบบประสาทในสมองจำภาพติดตาอยู่ได้ประมาณตอบ 1 ใน 10 วินาที
9.วัสดุฉายที่ใช้ได้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ได้แก่ตอบ 1.ตัวเครื่องฉาย2.แขนเครื่องฉายและหัวฉาย3.อุปกรณ์การฉายพิเศษ
10.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของโสตทัศนูปกรณ์ประเภทแสงมาอย่างน้อย 2 ชนิดตอบ 1.หลอดฉายและแผ่นสะท้อนแสง หลอดฉายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ1.1หลอดอินแคนเดสเซนต์ (Incandescent Lamp) เป็นหลอดฉายแบบเก่ามีขนาดใหญ๋ ภายในหลอดบรรจุด้วยไนโตรเจนหรืออาร์กอน ไส้หลอดทำด้วยทังสเตน ให้ความร้อนสูง อายุการใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 10 ชั่วโมง1.2หลอดฮาโลเจน (Halogen Lamp) มีขนาดเล็กกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ตัวหลอดทำด้วยหิน (Quartz) ทนความร้อนได้ดี ภายในหลอดบรรจุด้วยสารเฮโลเจน และไอโอดิน ให้แสงสว่าง ขาวนวล สดใส อายุการใช้งานต่อเนื่องเฉลี่ยประมาณ 50 ชั่วโมง หลอดชนิดนี้ใช้กับเครื่องฉายสไลด์1.3หลอดซีนอนอาร์ค (Zenon Arc Lamp) มีลักษณะเป็นหลอดยาวตรงกลางโป่งออก ภายในบรรจุด้วยก๊าซซีนอน แสงสว่างเกิดจากอนุภาคของไฟฟ้าจากขั้วหนึ่ง แสงสีขาวแรงจัดมาก หลอดชนิดนี้ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนการอาร์คด้วยแท่งถ่าน ซึ่งต้องปรับระยะของถ่านชดเชยการสึกกร่อนอยู่ตลอดเวลา2.วัสดุฉาย (Projected Matereals) คือวัสดุที่ใช้ควบคุ่กับเครื่องฉายเพื่อขยายเนื้อหาหรือรูปภาพให้มีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน เช่นฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นภาพโปร่งแสง และรูปภาพทึบแสง วัสดุฉายแสงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ2.1วัสดุโปร่งใส (Transparent Materials)2.2วัสดุโปร่งแสง (Translucent Materials)2.3วัสดุทึบแสง (Opaque Materials)

คำถามหน่วยที่ 10

ตอบคำถามบทที่10 1.ป้ายนิเทศมีลักษณะอย่างไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ-ตอบ ป้ายนิเทศ คือ แผ่นป้ายที่ใช้จัดแสดงทางการศึกษา หรือเป็นสื่อการเรียนการสอนใช้ถ่ายทอดความรู้ เรื่องราว ความคิด ข่าวสารโดยรูปภาพ แผ่นภาพ แผนภูมิ สถิติ ของจริง ของจำลองและอื่นๆ เสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามลำพัง และเรียนรู้ได้ง่าย
2.จงบอกประโยชน์ของป้ายนิเทศมาอย่างน้อย 5 ข้อ- ตอบ1. เป็นสื่อเร้าความสนใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน2. เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนทุกคนได้ศึกษาร่วมกัน โดยอาศัยเนื้อหาที่จัดแสดงไว้บนป้ายนิเทศ3. เป็นสื่อที่ใช้ในระหว่างการสอนหรือใช้ในการทบทวนบทเรียน4. เป็นสื่อที่นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง5. เป็นสื่อที่นักเรียนได้ร่วมกันจัดทำป้ายนิเทศ
3.ป้ายนิเทศที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมา 5 ข้อ -ตอบลักษณะของป้ายนิเทศที่ดี 1. ใช้ภาพเป็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษ2. มีเรื่องราวครบบริบูรณ์แต่ไม่ควรจัดมากกว่า 1 เรื่อง3. มีความต่อเนื่องกันและมีความกลมกลืนกัน 4. มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว จุดอื่นๆเป็นจุดรอง 5. สามารถสร้างความรู้สึก ให้ผู้ดูสนใจติดตามการเคลื่อนไหว
6. จัดให้มีภาพใกล้เคียงความจริง 4.จงอธิบายถึงการวางแผนในการจัดป้ายนิเทศมาทั้ง 7 ข้อ -ตอบ1) ป้ายนิเทศ 1 ป้าย ควรแสดงเรื่องหรือความคิดเพียงเรื่องเดียว 2) ต้องมีชื่อเรื่อง โดยมีเทคนิคการตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ และประดิษฐ์โดยใช้ตัวอักษร หรือวัสดุต่าง ๆ มาประกอบ หรือกระตุ้นและเร้าความอยากรู้ของผู้ดู 3) ควรวางแผนการจัดก่อนลงมือจัดจริง โดยคำนึงถึงหลักการออกแบบที่ดี การใช้ภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหา ตลอดจนใช้วัสดุอื่น ๆ มาใช้ประกอบ4) ใช้สีหรือทำให้น่าสนใจ ทั้งในส่วนที่เป็นเนื้อหาหรือการจัดทำพื้นป้าย 5) ใช้เส้นหรือทิศทางการจัดวาง เพื่อเป็นเครื่องช่วยนำสายตาของผู้ดูให้เกิดการรับรู้ที่ต่อเนื่องกัน6) ควรมีข้อความหรือคำอธิบายสั้น ๆ ประกอบ เพื่อให้ผู้ดูสามารถเรียนรู้สาระจากป้าย การใช้ตัวอักษรในส่วนนี้ ควรมีลักษณะที่อ่านง่าย ชัดเจน 7) ควรมีการประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนรู้คุณค่าของการจัดป้าย
5.หลักเกณฑ์ในการจัดป้ายนิเทศมีอะไรบ้างจงยกมาอย่างน้อย 5 ข้อ -ตอบ1.การกระตุ้นความสนใจ 2.การมีส่วนร่วม 3.การตรึงความสนใจ 4.ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ 5.การเน้น 6.การใช้สี
6.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดสื่อวัสดุ 3 มิติมาอย่างน้อย 3 ชนิด-ตอบ 1.)หุ่นจำลอง (Models) หุ่นจำลองเป็นวัสดุ 3 มิติที่สร้างขึ้นเฟื่อเลียนแบบของจริงหรือใช้แทนของจริง ที่ไม่สามารถจะนำมาแสดงได้โดยตรง มีการจัดทำหลายประเภท เช่น หุ่นจำลองแสดงลักษณะภายนอก หุ่นจำลองเหมือนของจริง หุ่นจำลอง แบบขยายหรือแบบย่อ หุ่นจำลองแบบผ่าซีก หุ่นจำลองแบบแยกส่วน หุ่นจำลองแบบเคลื่อนไหวทำงานได้ และหุ่นจำลองเลียนแบบของจริง เป็นต้น (กัลยา จยุติรัตน์ 2531 : 149- 150) การใช้หุ่นจำลองเป็นสารนิเทศนี้ นิยมใช้ในการเรียนการสอน เช่น ใช้เป็นอุปกรณ์ การสอนประกอบการเรียนวิชาแพทยศาสตร์ เป็นต้น เพราะทำให้ง่ายต่อความเข้าใจและเปิดโอกาสให้สามารถศึกษาลักษณะ และการทำงานของของจริงได้ง่ายขึ้น 2.) ของจริง / ของตัวอย่างแสดงคุณลักษณะต่างๆได้ตรงตามสภาพจริงเป็นลักษณะ 3มิติที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือสามารถจับต้อง พิจารณารายละเอียดต่างๆได้อย่างชัดเจน3.)ตู้อันตรทัศน์ สื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติ กระตุ้นความสนใจ วัสดุประกอบฉากสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน

คำถามหน่วยที่ 9

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่9
1.วัสดุกราฟฟิคมีลักษณะเป็นอย่างไรจงอธิบายมาพอเข้าใจตอบ.ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media)และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเองคุณค่าของวัสดุกราฟิก
2.จงบอกคุณค่าของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อตอบ1. ราคาถูก2. ครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง3. มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง4. เก็บรักษาง่าย5. สามารถประยุกต์หรือใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้ประโยชน์ของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิกมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้5.1. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน5.2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว5.3. ประหยัดเวลา5.4. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น5.5. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน6. ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้นลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดีวัสดุกราฟิกที่ดีควรมีลักษณะดังนี้6.1. มีความง่ายต่อความเข้าใจ สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว ชัดเจนทั้งรูปภาพ สัญลักษณ์ ตัวอักษะและถ้อยคำ6.2. การออกแบบต้องคำนึงถึงการเรียนรู้โดยเรียงลำดับภาพ สัญลักษณ์และตัวอักษรตามลำดับขั้นตอน6.3. ต้องมีการเน้นจุดเด่นโดยการใช้สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง เส้น หรือทิศทาง เพื่อแบ่งแยกข้อมูลที่เป็นใจความสำคัญให้เด่นกว่าข้อมูลอื่น ๆ6.4. มีความเป็นเอกภาพทั้งเนื้อหาและรูปภาพ6.5. มีความประณีต สวยงาม ตามคุณค่าของศิลปกรรม
3.จงบอกประโยชน์ของวัสดุกราฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อตอบ.1. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน 2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว 3. ประหยัดเวลา 4. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น 5. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน 6. ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
4.วัสดุกราฟิคที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมาอย่างน้อย 3 ข้อตอบ.1. ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหาวิชา 2. การออกแบบโดยการคำนึงถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้งานโดยมุ่งที่จะได้รับจากการใช้วัสดุกราฟิกเพื่อการสื่อความหมายสำคัญ 3. การออกแบบวัสดุกราฟิกควรมีลักษณะง่าย ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากเกินไป และขบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน 4. คำนึงถึงความประหยัดทั้งเงินงบประมาณและเวลาในการจัดทำ 5. มีสัดส่วนดี องค์ประกอบทั้งหมดกลมกลืน เช่น รูปแบบ พื้นผิว เส้น สี เป็นต้น 6. มีโครงสร้างที่เหมาะสม กลมกลืนกับวัฒนธรรม สังคม และมีความถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง
5.จงบอกหลักการออกแบบวัสดุกราฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อตอบ. วัสดุกราฟิกชนิดต่าง ๆ ที่นิยมนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนมีดังนี้ 1. แผนภูมิ (Charts) แผนภูมิเป็นวัสดุประเภทกราฟิก ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สัญลักษณ์ รูปภาพ และตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญ เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ การเปรียบเทียบ ความต่อเนื่อง กระบวนการ ความสัมพันธ์ ขั้นตอน เป็นต้น ลักษณะแผนภูมิที่ดี 1. เป็นแบบง่ายและแสดงแนวคิดเดียว 2. ขนาดใหญ่ อ่านง่าย ไม่แน่นเกินไป 3. ใช้สีเพื่อการเน้นเป็นสำคัญ 4. ภาพประกอบต้องเหมาะสม น่าสนใจ 5. เนื้อหาถูกต้องตามความเป็นจริง 6. เนื้อหาและคำบรรยายชัดเจน อ่านง่าย 7. มีการทบทวนในการใช้งานและการเก็บรักษา เทคนิคการนำเสนอ 1. แผนภูมิต้องตรงกับเนื้อหา 2. ต้องติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย 3. อธิบายตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง 4. ขณะใช้แผนภูมิต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียน 5. จุดสนใจควรเน้นด้วยสี ขนาด การปิด-เปิด 6. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสนอ 7. การชี้แผนภูมิควรใช้ไม้หรือวัสดุชี้ 8. สามารถใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้ ประเภทของแผนภูมิมี 8 ประเภท 1. แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts) แสดงให้เห็นสิ่งหนึ่ง ๆ แยกออกเป็นหลายสิ่ง 2. แผนภูมิแบบสายธาร (Streem Charts) ใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่ง ๆ เกิดจากหลายสิ่งมารวมกันจะมีลักษณะตรงกันข้ามกับแผนภูมิแบบต้นไม้ เช่น มีวัสดุอะไรบ้างรวมกันเป็นคอนกรีต เป็นต้น 3. แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Charts) ใช้แสดงลำดับขั้นของการทำงานเช่นขั้นตอนการตอนกิ่งไม้ ขั้นตอนการปฐมพยาบาล คนตกน้ำ เป็นต้น 4. แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของสายงานในองค์การ หรือหน่วยงานหนึ่ง ๆ เช่น แผนภูมิการบริหารงานของโรงพยาบาล เป็นต้น 5. แผนภูมิเปรียบเทียบ (Comparison Charts) ใช้สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เช่น ลักษณะยุงลายกับยุงก้นปล่อง ลมบกและลมทะเล เป็นต้น 6. แผนภูมิแบบตาราง (Table Charts) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์ เช่น ตารางการเดินรถ ตารางเรียน เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ เป็นต้น 7. แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Evolution Charts) ใช้แสดงความเปลี่ยนแปลงของสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ 8. แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Pictorial Charts) ใช้ชี้แจงส่วนต่าง ๆ ของภาพให้เห็นชัดเจน เช่น ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ อวัยวะภายในของมนุษย์ เป็นต้น 2. แผนสถิติ (Graph) แผนสถิติเป็นวัสดุลายเส้นที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข แผนสถิติแต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อถือ และเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับแผนสถิติ ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ลักษณะแผนสถิติที่ดี 1. ตัวอักษร เส้น สี ต้องชัดเจน น่าสนใจ 2. มีลักษณะดูแล้วเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน 3. แสดงแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง 4. ควรนำเสนอในลักษณะเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล 5. แสดงขอมูลในลักษณะประมาณมิใช่เน้นความถี่ของข้อมูล ชนิดของแผนสถิติ แผนสถิติแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ 1. แผนสถิติแบบเส้น (Line or Curve Graph) เสนอข้อมูลได้ถูกต้องและรวดเร็วกว่าแบบอื่น ๆ แสดงแนวโน้มของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับเวลาได้อย่างชัดเจน 2. แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graph) เป็นแบบที่ทำได้ง่ายและอ่านเข้าใจง่ายกว่าทุกแบบ จึงนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง แผนสถิติแบบแท่งจะได้ผลดีในกรณีที่ข้อมูลเปรียบเทียบไม่เกิน 4-5 ชนิด 3. แผนสถิติแบบวงกลม (Cielr or Pie Graph) ใช้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบอัตราส่วนว่าเป็นอย่างไรของปริมาณทั้งหมดแผนสถิติแบบนี้มีข้อดีที่ช่วยให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนรวมได้พร้อมกัน 4. แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graph) ใช้แสดงผลิตผลของหน่วยงานต่าง ๆ โดยใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนข้อมูล เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ แผนสถิติแบบนี้จะนำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจ แต่ไม่ให้รายละเอียดมากนัก 5. แผนสถิติแบบแสดงพื้นที่ (Solid Graph) เป็นการใช้พื้นที่แสดงปริมาณของตัวเลขที่ต้องการเปรียบเทียบ แผนสถิติแบบนี้ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่าทุกแบบ 3. แผนภาพ (Diagrams) แผนภาพเป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งของหรือของระบบการทำงาน เช่น การทำงานของลูกสูบรถยนต์ เครื่องกรองน้ำ ส่วนประกอบของดอกไม้ เป็นต้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภาพ ได้แก่ กระบวนการ ความสัมพันธ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ หรือโครงสร้างภายใน เป็นต้น ลักษณะแผนภาพที่ดี 1. มีรูปแบบง่าย ๆ แสดงแนวความคิดเดียว 2. ขนาดใหญ่พอสมควร รูปภาพ ตักอักษร อ่านได้ชัดเจน 3. ใช้สีแสดงความแตกต่างและความเหมือนกันเพื่อแสดงความหมายให้ชัดเจน 4. ควรใช้รูปภาพ สัญลักษณ์มากกว่าตัวหนังสือ เทคนิคการนำเสนอ 1. การใช้แผนภาพผู้เรียนต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นก่อน 2. ควรใช้โสตทัศนวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสมประกอบ เช่น รูปภาพ ของจริง ภาพยนตร์ เป็นต้น 3. แผนภาพจะต้องมีคำอธิบาย จะช่วยป้องกันการสับสนของผู้เรียน 4. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสมอ 5. ควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรูปภาพ

คำถามหน่วยที่ 6

คำถามหน่วยการเรียนรู้ที่6
1. จงอธิบายความหมายของงานกราฟิคมาพอเข้าใจ
ตอบ - ความหมาย “กราฟิค (Graphic)” มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือ Graphikos และ Graphein หมายถึง การเขียน, การวาดเขียนต่อมามีผู้ให้ความหมายหรือคำจำกัดความของคำว่า “กราฟฟิค” ไว้หลายประการ ทั้งไทยและเทศ โดยรวมแล้ว กราฟฟิค คือคำเรียกศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ แต่สำหรับในประเทศไทยนั้นงานกราฟฟิค ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของงานจิตรกรรมไทยมาช้านาน โดยงานจิตรกรรมไทยอาจถูกเรียกว่า ต้นกำเนิดกราฟฟิคไทยเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในอดีตการเขียนภาพเป็นรูปแบบหนึ่งในการถ่ายทอดเรื่องราว โดยจิตรกรจะนำเสนอความคิดเห็นทั้งด้านการเมือง สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานจิตรกรรมต่างๆ ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นมา โดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัย จากผลงานที่ถูกจำกัดด้วยอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิด แต่ทว่าในปัจจุบันรูปแบบของการสร้างผลงานนั้นแตกต่างออกไป แต่ผลของมันยังคงเหมือนเดิม กราฟฟิคนั้นคอยเล่าเรื่องราวไม่ต่างอะไรนักกับตัวอักษร และในหลายๆ ครั้งอาจทำให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้นด้วยซ้ำ คงจะไม่ผิดหากผู้เขียนต้องการจะบอกว่า ในมุมมองของผู้เขียนแล้ว “จิตรกรรมไทย” ก็คือ “กราฟฟิคไทย” ในยุคแรกนั่นเอง
2. จงบอกความหมายและคุณค่าของงานกราฟฟิคให้ถูกต้องและครอบคลุม
ตอบ - ความหมายของกราฟิค มาจากภากรีก 2 คำ คือ Graphikos และ Graphein Graphikos หมายถึง การเขียนภาพทั้งที่เป็นภาพสีและภาพขาวดำและ Graphein หมายถึง การเขียนตัวหนังสือและการใช้เส้นในการสื่อความหมายดังนั้นเมื่อรวมกัน Graphic ก็จะหมายถึง การเขียนทั้งภาพสีและภาพขาวดำ ตลอดจนการเขียนตัวหนังสือและการใช้เส้นเพื่อสื่อความหมายคุณค่าของงานกราฟิค1.ช่วยถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้เป็นรูปธรรมได้ชัดเจน2.เป็นภาพที่ติดอยู่กับวัสดุต่างๆได้นาน สามารถนำมาอ้างอิงได้
3. ช่วยให้การสื่อสารและการเรียนรู้สะดวกและมีประสิทธิภาพ4.ช่วยให้ผู้ชมเพลิดเพลินไปกับลายเส้นและสีสันที่สวยงาม5.เป็นสื่อที่มีปริมาณการรับรู้มากที่สุด
3. จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดวัสดุที่ใช้ในงานกราฟิคมาอย่างน้อย 4 ประเภทวัสดุที่ใช้ในงานกราฟฟิคมี 5 ประเภท คือ
ตอบ 1. กระดาษ กระดาษแต่ละชนิดมีลักษณะดังนี้1.1กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้1.2กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก1.3 กระดาษโปสเตอร์ (Poster paper)เป็นกระดาษปอนดืที่ขัดมันเรียบหน้าเดียว ส่วนอีกหน้าหนึ่งจะปล่อยให้หยาบไว้1.4 กระดาษชาร์ทสี เป็นกระดาษเนื้อบางแต่ผิวเรียบมีสีทั้งสองด้านส่วนใหญ่จะเป็นสีอ่อนๆ เหมาะสำหรับทำปกรายงาน จัดป้ายนิเทษน์ แผนภูมิ แผนภาพ ฯลฯ
4. จงอธิบายความหมายของการออกแบบมาให้เข้าใจ
ตอบ การออกแบบเป็นศิลปะของการสร้างสรรค์แบบ โดยการนำเอาส่วนประกอบของการออกแบบ มาจัดตามหลักเกณฑ์ของการออกแบบ ให้ได้แบบที่มีความสวยงามและน่าสนใจ
5. จงยกตัวอย่างส่วนประกอบของการออกแบบมาอย่างน้ือย 5 ประการ
ตอบ (1.)เส้น เป็นส่วนประกอบอันแรกสุดของงาานศิลปะทุกประเภทในการออกแบบ
(2.)รูปร่าง และ รูปทรง เกิดจากเส้นที่มารวมกัน (รูปร่างมี 2 มิติ,รูปทรงมี 3 มิติ)
(3.)ที่ว่าง และ จังหวะ ที่ว่างคือที่รอบๆวัสดุ และข้อความในภาพที่ว่างจะช่วยให้เกิดความรู้สึกเป็นกลุ่มเป็นก้อนหรือแยกพวก
(4.)พื้นผิว คือคุณสมบัติของวัตถุที่แสดงต่อสายตาหรือความรู้สึกของคนว่ามีความรู้สึกอย่างไร
(5.)สัดส่วน หมายถึง อัตราส่วนของสิ่งต่างๆที่กำหนดลงในแบบ หรือภาพว่าเป็นสัดส่วนเท่าไรกับความเป็นจริงในธรรมชาติ
6. จงออกแบบงานกราฟิคต่อไปนี้
ตอบ (6.1) ภาพลายเส้น 1 ชิ้น บนกระดาษ 8" * 12"
(6.2) ภาพระบายสี 1 ชิ้น บนกระดาษ 8" * 12"

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามหน่วยที่ 5

ตอบคำถามหน่วยการเรียนที่5
จงตอบคำถามลงในช่องว่างของแต่ละข้อให้ได้ความสมบูรณ์และถูกต้อง
1. การรับรู้ หมายถึงอะไร
ตอบ ...กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้าข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสเข้าไปยังสมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี
2. อวัยวะรับสัมผัสมี 5 ทาง คือ
ตอบ ตา หู จมูก ลิ้น และ กาย
3. องค์ประกอบของกระบวนการรับรู้มี 3 ประการ ได้แก่
ตอบ - อาการรับสัมผัส - อาการแปลความหมายของอาการสัมผัส -ประสบการณ์เดิม
4. ธรรมชาติของการรับรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ - การเลือกที่จะรับรู้- การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้าอย่างมีแบบแผน- ความต่อเนื่อง- ความสมบูรณ์
5. สิ่งต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ได้แก่
ตอบ - สิ่งเร้าภายนอก - สิ่งเร้าภายใน- คุณลักษณะของสิ่งเร้า
6. การเรียนรู้ หมายถึงอะไร
ตอบ - การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ก่อนข้างถาวร และพฤติกรรมนี้เป็นผลจากประสบการณ์หรือการฝึกฝนมิใช่การตอบสนองจากธรรมชาติ วุฒิภาวะ หรือความบังเอิญ เป็นต้น
7. จงเขียนแผนภูมิการแบ่งกลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ให้ถูกต้องทฤษฎีการเรียนรู้
ตอบ 1. กลุ่มทฤษฎีสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง1.1ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง1.2ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข1.2.1)การเรียนรู้แบบคลาสิค 1.2.2)การเรียนรุ้แบบจงใจกระทำ 2. กลุ่มทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ2.1Gestalt T2.2Field T
8. บลูม จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 3 หมวด ได้แก่
ตอบ - พุทธพิสัย- จิตพิสัย- ทักษะพิสัย
9. สภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้มี 4 ประการ คือ
ตอบ - เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม - ป้อนข้อมูลย้อนกลับทันที - จัดประสบการณ์ที่เป็นผลสำเร็จ - การประมาณการที่ละน้อย
10. จงเขียนแผนภูมิกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ให้ถูกต้องการรับรู้ตามแนวพุทธศาสตร์
ตอบ 1. อวัยวะรับสัมผัส}การรับสัมผัส การรับรู้ ความรู้สึก ความจำ ความคิด 2. สิ่งเร้าภายนอก

คำถามหน่วยที่ 4

คำถามหน่วยที่ 4
จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
ตอบ 1.) คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
2.) การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการสั่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกต่างๆ ตลอดจนประสบการณ์จากฝ่ายหนึ่ง(ผู้ส่งสาร)สู่อีกฝ่ายหนึ่ง(ผู้รับสาร)
3.) Sender --> Message --> Channel --> Reciever
4.) สาร หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิด
5.) Elemnts หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี ...ตัวอย่างเช่น สระ พยัญชนะ หรือสีแดงสีเหลือง เส้น เป็นต้น
6.) Structure หมายถึง โครงสร้างที่นำองค์ประกอบย่อยมารวมกัน ...ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค หรือ สีของรูปร่าง รูปทรง
7.) Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่ง ...ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร
8.) Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ที่ถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ...ตัวอย่างเช่น ใช้ Style ในการสื่อความหมาย
9.) Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ,ความต้องการ ...ตัวอย่างเช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กริยาท่าทาง
10.) อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน, อากาศร้อน ,แสงแดด
11.) อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด ,ความวิตกกังวล ,อาการเจ็บป่วย
12.) Encode หมายถึง การแปลความต้องการของคนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆได้
13.) Decode หมายถึง การเลือกสื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม
14.) จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง ..... กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบดัง นี้ ครู --> เนื้อหา หลักสูตร --> สื่อหรือช่องทาง --> นักเรียน
15.) จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน...1.ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ให้กับผู้เรียน...2.ผู้สอนไม่คำนึงถึงความสามารถของผู้เรียน...3.ผู้สอนไม่สร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน...4.ผู้สอนใช้คำยากทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ...5.ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาวกวน...6.ผู้สอนใช้สื่อไม่เหมาะสม

คำถามหน่วยที่ 3

คำถามหน่วยที่ 3
ตอบคำถามหน่วยที่ 3
1. จงอธิบายคำว่า ระบบ ให้ถุกต้อง
ตอบ - ระบบ คือ ดร. เปรื่องกุมุท ได้กล่าว ระบบคือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันอย่ในโครงร่างหรือกระบวนการนั้นสำหรับ ดร.ชัยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้คำนิยามว่า ระบบ คือเป็นส่วนร่วมของหน่วยซึ่งเป็นงานอิสระจากกัน แต่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ กำหนดไว้ เช่น ระบบศึกษา จะมีองค์ประกอบเป็นหน่วย่อยลงไปคือ การเรียน การสอนการจัดการบริการ อาคาร สถานที่ และเครื่องอำนวยความสะดวก ชุมชน และผู้เรียน
2.จงเขียนแบบจำลององค์ประกอบของระบบให้ถุกต้ององค์ประกอบของระบบ มี 3ประการคือ
ตอบ 1.ข้อมูล(input)2.กระบวนการ(process)3.ผลลัพธ์(output)3.จงบอกคุรค่าของการจัดระบบมาอยางน้อย 3 ข้อ1.เป็นแนวในการดำเนินงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้2.ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย3.สามารถสร้างแบบจำลองเพื่อช่วยป้องกันการลงทุนที่ไม่จำเป็นได้4.สามารถตรวจสอบเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานได้ทุกขั้นตอน5.สามารถดัดแปลงระบบที่มีประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับงานอื่นๆได้5.จงอธิบายระบบย่อยของระบบสื่อการสอนให้ถูกต้อง -ระบบย่อย คือเป็นระบบที่มีจำนวน 30-50 คน ลักษระของการสอนจะเป็น แบบบรรยาย การสาธิต การทดลอง อภิปราย ศูนย์การเรียนรู้ เป็นต้น

คำถามหน่วยที่2

คำถามหน่วยที่ 2
ตอบคำถามหน่วยที่2
1. จงบอกความหมายของสื่อการสอนให้ถูกต้อง
ตอบ .สื่อการสอน Instruction Mediaหมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใดๆ ที่เป็นตัวกลางหรือพาหนะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน
2. จงอธิบายความสำคัญของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ. สื่อการสอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการศึกษา หรือการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น สื่อการ สอน เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้มากขึ้น โดยเสียเวลาน้อยลง การได้เห็น ได้ยินช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอดได้ง่าย ทั้งยังช่วยเหลือในการศึกษาให้ทุกระดับความสามารถ อายุชั้นเรียนและทุกสาขาวิชาด้วย
3. จงอธิบายคุณสมบัติความของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ. 3.1 สามารถจับยึดประสบการณ์ ทั้งในลักษณะของรูปเสียงสัญลักษณ์ต่างๆสามารถนำมใช้ตามต้องการ 3.2 สามารถจัดแจง จัดการและปรับปรุงแต่งประสบการณ์ 3.3 สามารถแจกจ่ายและขยายความของข่าวสารออกเป็นหลายๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมากและสามารถใช้ซ้ำได้หลายๆครั้ง
4. จงบอกถึงคุณค่าของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ. 4.1 เป็นศูนย์รวมความสนใจให้แก่ 4.2 ทำให้บทผู้เรียนเป็นที่น่าสนใจ 4.3 ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง 4.4 ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน 4.5 แสดงความหมายของสัญลักษ์ต่างๆ หน่าย 4.6 ให้ ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้ให้เกิดรูปนามธรรม 4.7 แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย 4.8 อธาบยสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น 4.9 สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับเวลา ระยะทางและขนาดได้ เช่น 4.9.1 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้ 4.9.2 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลงได้ 4.9.3 ย่อสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลงได้ 4.9.4 ย่อสิ่งที่เล็กเกินไปให้ใหญ่ขึ้นมาได้ 4. 9.5 นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาได้ 4.9.6 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้
5. จงยกตัวอย่างคุณค่าของสื่อการสอนในคุณค่าด้านวิชาการ คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษามา อย่างน้อยด้านละ 1 ตัวอย่าง
ตอบ. 5.1 คุณค่าด้านวิชาการ 5.1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง 5.1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช่สื่อการสอน 5.1.3 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างขวางและเป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น 5.1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา 5.1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มากและได้นาน 5.1.6 สื่อการสอนบางชนิด ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น 5.2 คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ 5.2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น 5.2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว 5.2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง 5.3 คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา 5.3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น 5.3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ 5.3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน 5.3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง
6. จงจำแนกประเภทของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ. คุณค่าของสื่อการสอน จำแนกได้ 3 ด้าน คือ 6.1การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523 : 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 6.1.1 วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น - แผนภูมิ (Charts) - แผนภาพ (Diagrams) - ภาพถ่าย (Poster) - โปสเตอร์ (Drawing) - ภาพเขียน (Drawing) - ภาพโปร่งใส (Transparencies) - ฟิล์มสตริป (Filmstrip) - แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes) - เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ 6.1.2 อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่ - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors) - เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors) - เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors) - เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers) - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers) - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers) 6.1.3 วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่ - บทบาทสมมุติ (Role Playing) - สถานการณ์จำลอง (Simulation) - การสาธิต (Demonstration) - การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) - การจัดนิทรรศการ (Exhibition) - กระบะทราย (Sand Trays) 6.2 การจำแนกสื่อการสอนตามแบบ (Form) ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11) ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้ 6.2.1 สิ่งพิมพ์ (Printed Materials) - หนังสือแบบเรียน (Text Books) - หนังสืออุเทศก์ (Reference Books) - หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books) - นิตยสารหรือวารสาร (Serials) 6.2.2 วัสดุกราฟิก (Graphic Materials) - แผนภูมิ (Chats) - แผนสถิติ (Graph) - แผนภาพ (Diagrams) - โปสเตอร์ (Poster) - การ์ตูน (Cartoons) 6.2.3 วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment) - เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector) - เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector) - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector) - ฟิล์มสไลด์ (Slides) - ฟิล์มภาพยนตร์ (Films) - แผ่นโปร่งใส (Transparancies) 6.2.4 วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) - เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording) - เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver) - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver) 6.3 การจำแนกสื่อการสอนตามประสบการณ์ เอดการ์ เดล เชื่อว่าประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมจะทำให้เกิดการเรียนรู้แตกต่างกับ ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม ดังนั้นจึงจำแนกสื่อการสอนโดยยึดประสบการณ์เป็นหลักเรียงตามลำดับจากประสบการณ์ที่ง่ายไปยาก 10 ขั้น เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรง (Direct Experiences) มีความหมายเป็นรูปธรรมมากที่สุดทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จากประสบการณ์จริง เช่น เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ขั้นที่ 2 ประสบการณ์รอง (Verbal Symbols) เป็นกรณีที่ประสบการณ์หรือของจริงมีข้อจำกัด จำเป็นต้องจำลอง สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาศึกษาแทน เช่น หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง การแสดงเหตุการณ์จำลองทางดาราศาสตร์ ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramaticed Experiences) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์ตรง หรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจเป็นความคิด ความฝัน สามารถเรียนด้วยประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์จำลองได้ เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงลำดับความคิดหรือกระบวนการเหมาะสมกับเนื้อหา ที่ต้องการความเข้าใจ ความชำนาญหรือทักษะ เช่น การสาธิตการผายปอดการสาธิตการเล่นของครูพละ เป็นต้น ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) เป็นการพาผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมาย ที่แน่นอน ประสบการณ์นี้มีความเป็นนามธรรมมากกว่าการสาธิต เพราะผู้เรียนแทบไม่ได้มีส่วนในกิจกรรมที่ได้พบเห็นนั้นเลย ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibits) เป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้รับด้วยการดูเป็นส่วนใหญ่ อาจจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ เช่น ของจริง หุ่นจำลอง วัสดุสาธิต แผนภูมิ ภาพยนตร์ เป็นต้น ขั้นที่ 7 โทรทัศน์และภาพยนตร์ (Television and Motion Picture) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากกว่า การจัดนิทรรศการ เพราะผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยการดูภาพและฟังเสียงเท่านั้น ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง (Still Picture) เป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ทางใดทางหนึ่งระหว่างการฟัง และการพูด ซึ่งนับเป็นนามธรรมมากขึ้น ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) เป็นประสบการร์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด บรรยาย การปราศรัย คำโฆษณา ฯลฯ ดังนั้นผู้เรียนควรมีพื้นฐานเช่นเดียวกับทัศนสัญลักษณ์นั้น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี ขั้นที่ 10 วัจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) ได้แก่ คำพูด คำอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่นปลิว แผ่นพับ ที่ใช้ตัวอักษร ตัวเลข แทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ นับเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด
7.จงบอกหลักการใช้สื่อการสอนให้ชัดเจน ควรดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
ตอบ 1)ขั้นการเลือก (Selection) 2)ขั้นเตรียม (Preparation) 3)ขั้นการใช้หรือการแสดง (Presentation) 4)ขั้นติดตามผล (Follow up) 8.จงอธิบายข้อดีและข้อจำกัดของสื่อการสอนให้ถูกต้องอย่างน้อย 2ชนิด ตอบ. 1)หนังสือ สมุดคู่มือ เอกสารอื่นๆ -ข้อดีคือ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับบางคนได้แก่การอ่าน -ข้อจำกัดคือต้นทุนการผลิตสูง 2)ตัวอย่างของจริง -ข้อดีคือแสดงภาพตามความเป็นจริง -ข้อจำกัดคือจัดหาลำบาก

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งานตอบคำถามหน่วยที่ 1

ตอบคำถามหน่วยที่ 1
1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
ตอบ - เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอากระบวนการ วิธีการ และ ความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการ ปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ 1. เทคโนโลยีทางการทหาร ( Military Technology)
2. เทคโนโลยีทางการแพทย์ ( Medical Technology)
3. เทคโนโลยีทางการเกษตร ( Agricultural Technology)
4. เทคโนโลยีทางการสื่อสาร ( Communication Technology)
5. เทคโนโลยีทางการค้า ( Commercial Technology)
6. เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ( Engineering Technology)
7. เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม ( Social Marketing Technology)
8. เทคโนโลยีทางการศึกษา ( Educational Technology)
3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศทางวิทยาศาสตร์ กายภาพและทัศนะ ทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ - ทัศนะทางสื่อหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ ( Media or Physical Science concept) เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ เห็นว่า การนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น
- ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral science concept)เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอน หรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการศึกษา 4 ขั้น
คือ 1. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัด และสังเกตเห็นได้
2. ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อม และอื่นๆ เพื่อจัดหลักสูตร และโครงการสอนให้เหมาะสมกับ ผู้เรียนแต่ละคน
3. วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาระสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
4. การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร
4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 3ระดับ
ตอบ 1. บุคคลธรรมดาสามัญ ความหมายตามพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็น การเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม
2. บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ ความหมายว่า การศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบรวม ไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ
3. บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน
จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะคือ
(1)ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของ ส่วนรวมก่อน การศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนาเป็นการศึกษารูปแบบหนึ่ง การปฏิรูปตามศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนากับการศึกษาจึงมักรวมแนวทางกันเสมอ- พลาโต ( Plato) กล่าวว่า “การศึกษา” คือเครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมานสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(2)ทัศนะเสรีนิยม การศึกษา คือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว บุคคลที่ได้รับการศึกษานี้จะใช้ความสามารถของตนสร้างเสริมสังคมเอาเองในอนาคต- ศาสตราจารย์สาโรจ บัวศรี ให้ความหมายการศึกษาว่า คือ ความเจริญงอกงามทางร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ พุทธทาสภิกขุ อธิบายการศึกษาว่า คือ การทำลายสัญชาตญาณสัตว์ การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์และเสนอว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยย่อได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะแก่อัตภาพของตน
5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ - เทคโนโลยีการศึกษามี 3 ระดับ
1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู ( Teacher’s Aid)เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ใน สถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่นการสอนทางไกลโดยใช้วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารทางไปรษณีย์
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีผู้เรียนทั่วประเทศแต่ผู้เรียนอาจจะไม่เคยเห็นผู้สอนตัวจริง มีแต่ผู้บรรยายทางโทรทัศน์ เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษา ฯลฯ6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจนตอบข้อแตกต่างของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีเป็นการนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยี ถูกนำมาใช้ในสาขาต่างๆ ส่วนนวัตกรรม เราสามารถสังเกตได้
คือ1. เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย และช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง3 ส่วน คือ ข้อมูลที่ใส่เข้าไป ,กระบวนการ ,และผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันนอกจากนี้ นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีเสมอ ทั้งนี้เนื่องจากบทบาท และความหมายคล้ายคลึงกัน มีเป้าหมายในการนำไปใช้อย่างเดียว ดังแผนภูมิต่อไปนี้นวัตกรรม (Innovation) เทคโนโลยี (Technology) เป้าหมายที่แน่นอนจะเห็นได้ว่าเป้าหมายที่แน่นอนของนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรม นั้น ก็จะกลายเป็นเทคโนโลยี
6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ ข้อแตกต่างของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีเป็นการนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยี ถูกนำมาใช้ในสาขาต่างๆ ส่วนนวัตกรรม เราสามารถสังเกตได้ คือ
1. เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย และช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง3 ส่วน คือ ข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันนอกจากนี้ นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีเสมอ ทั้งนี้เนื่องจากบทบาท และความหมายคล้ายคลึงกัน มีเป้าหมายในการนำไปใช้อย่างเดียว ดังแผนภูมิต่อไปนี้นวัตกรรม (Innovation) เทคโนโลยี (Technology) --- เป้าหมายที่แน่นอนจะเห็นได้ว่าเป้าหมายที่แน่นอนของนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรม นั้น ก็จะกลายเป็นเทคโนโลยี
7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ 1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น ( Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ ( Development) หรือขั้นการทดลอง ( Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง ( Innovation)
8. จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจ และความต้องการของแต่ละบุคคล
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนการกลุ่ม
9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด

ตอบ 1) การสอนแบบโปรแกรม 2) ศูนย์การเรียน 3) ชุดการเรียนการสอน 4) การเรียนการสอนแบบระบบเปิด 5) การสอนเป็นคณะ 6) บทเรียนสำเร็จรูป ยุคเดิมเป็นเอกสาร ยุคใหม่เป็น CAI 7) การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น 8) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน 9) การเรียนการสอนทางไกล 10) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 11) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน 12) เรียนปนเล่น1 13) แบบฝึกแบบปฏิบัติเฉพาะคิดหรือเฉพาะวิชา
10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3ข้อ ตอบ สาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา มีดังนี้ 1) การเพิ่มประชากร การเพิ่มประชากรเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ครู สื่อการสอน เป็นต้น จึงทำให้การจัดการศึกษาเป็นไปไม่ทั่วถึง 2) การเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มประชากร ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้สังคมได้อย่างมีความสุขและก้าวหน้าต่อไป 3) ความก้าวหน้าทางวิทยากรใหม่ๆ การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้พบวิทยาการใหม่ๆ หลากหลาย ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
11. จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทย 5 ข้อ

ตอบ แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยมีดังนี้ 1) การจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นและไม่นับถือตนเอง 2) การรู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ทางการเรียนมักเกิดปัญหา เนื่องจากครูเร่งกรอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างเร่งรีบเพื่อให้ทันตามหลักสูตร จนไม่มีโอกาสฝึกการทำงานร่วมกันของผู้เรียน 3) การสอนแบบพูดอย่างเดียว ผู้เรียนมีหน้าที่เรียนและฟัง ทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ฝึกตนเอง 4) การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ระบบการศึกษาแบบเดิมมักจะสอนแต่ไม่มีการฝึกการเป็นพลเมืองดี 5) คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในถิ่นของตนเอง ฝักใฝ่และหลงใหลมาอยู่ในกรุงหรือนิยมของต่างประเทศมากกว่าในประเทศ
12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย อย่างน้อย 3 ประการ ตอบ 1. การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น 2. เรียนปนเล่น 3. การจัดระบบโรงเรียนในโรงเรียน 4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 5. การสอนเป็นคณะ 6. กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น 7. สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง 8. รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะอย่างมีประสิทธิภาพ 9. รู้จักแสวงหาความรู้เอง 10. มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม