Welcome..to..slide

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามหน่วยที่ 9

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่9
1.วัสดุกราฟฟิคมีลักษณะเป็นอย่างไรจงอธิบายมาพอเข้าใจตอบ.ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media)และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเองคุณค่าของวัสดุกราฟิก
2.จงบอกคุณค่าของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อตอบ1. ราคาถูก2. ครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง3. มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง4. เก็บรักษาง่าย5. สามารถประยุกต์หรือใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้ประโยชน์ของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิกมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้5.1. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน5.2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว5.3. ประหยัดเวลา5.4. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น5.5. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน6. ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้นลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดีวัสดุกราฟิกที่ดีควรมีลักษณะดังนี้6.1. มีความง่ายต่อความเข้าใจ สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว ชัดเจนทั้งรูปภาพ สัญลักษณ์ ตัวอักษะและถ้อยคำ6.2. การออกแบบต้องคำนึงถึงการเรียนรู้โดยเรียงลำดับภาพ สัญลักษณ์และตัวอักษรตามลำดับขั้นตอน6.3. ต้องมีการเน้นจุดเด่นโดยการใช้สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง เส้น หรือทิศทาง เพื่อแบ่งแยกข้อมูลที่เป็นใจความสำคัญให้เด่นกว่าข้อมูลอื่น ๆ6.4. มีความเป็นเอกภาพทั้งเนื้อหาและรูปภาพ6.5. มีความประณีต สวยงาม ตามคุณค่าของศิลปกรรม
3.จงบอกประโยชน์ของวัสดุกราฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อตอบ.1. ช่วยให้ผู้สอนกับผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน 2. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายเพียงอย่างเดียว 3. ประหยัดเวลา 4. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น 5. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาส มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน 6. ช่วยให้การอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
4.วัสดุกราฟิคที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมาอย่างน้อย 3 ข้อตอบ.1. ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหาวิชา 2. การออกแบบโดยการคำนึงถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้งานโดยมุ่งที่จะได้รับจากการใช้วัสดุกราฟิกเพื่อการสื่อความหมายสำคัญ 3. การออกแบบวัสดุกราฟิกควรมีลักษณะง่าย ๆ ส่วนประกอบต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดมากเกินไป และขบวนการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน 4. คำนึงถึงความประหยัดทั้งเงินงบประมาณและเวลาในการจัดทำ 5. มีสัดส่วนดี องค์ประกอบทั้งหมดกลมกลืน เช่น รูปแบบ พื้นผิว เส้น สี เป็นต้น 6. มีโครงสร้างที่เหมาะสม กลมกลืนกับวัฒนธรรม สังคม และมีความถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง
5.จงบอกหลักการออกแบบวัสดุกราฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อตอบ. วัสดุกราฟิกชนิดต่าง ๆ ที่นิยมนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนมีดังนี้ 1. แผนภูมิ (Charts) แผนภูมิเป็นวัสดุประเภทกราฟิก ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สัญลักษณ์ รูปภาพ และตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญ เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ การเปรียบเทียบ ความต่อเนื่อง กระบวนการ ความสัมพันธ์ ขั้นตอน เป็นต้น ลักษณะแผนภูมิที่ดี 1. เป็นแบบง่ายและแสดงแนวคิดเดียว 2. ขนาดใหญ่ อ่านง่าย ไม่แน่นเกินไป 3. ใช้สีเพื่อการเน้นเป็นสำคัญ 4. ภาพประกอบต้องเหมาะสม น่าสนใจ 5. เนื้อหาถูกต้องตามความเป็นจริง 6. เนื้อหาและคำบรรยายชัดเจน อ่านง่าย 7. มีการทบทวนในการใช้งานและการเก็บรักษา เทคนิคการนำเสนอ 1. แผนภูมิต้องตรงกับเนื้อหา 2. ต้องติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย 3. อธิบายตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง 4. ขณะใช้แผนภูมิต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียน 5. จุดสนใจควรเน้นด้วยสี ขนาด การปิด-เปิด 6. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสนอ 7. การชี้แผนภูมิควรใช้ไม้หรือวัสดุชี้ 8. สามารถใช้ประกอบกับสื่ออื่น ๆ ได้ ประเภทของแผนภูมิมี 8 ประเภท 1. แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts) แสดงให้เห็นสิ่งหนึ่ง ๆ แยกออกเป็นหลายสิ่ง 2. แผนภูมิแบบสายธาร (Streem Charts) ใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่ง ๆ เกิดจากหลายสิ่งมารวมกันจะมีลักษณะตรงกันข้ามกับแผนภูมิแบบต้นไม้ เช่น มีวัสดุอะไรบ้างรวมกันเป็นคอนกรีต เป็นต้น 3. แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Charts) ใช้แสดงลำดับขั้นของการทำงานเช่นขั้นตอนการตอนกิ่งไม้ ขั้นตอนการปฐมพยาบาล คนตกน้ำ เป็นต้น 4. แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ของสายงานในองค์การ หรือหน่วยงานหนึ่ง ๆ เช่น แผนภูมิการบริหารงานของโรงพยาบาล เป็นต้น 5. แผนภูมิเปรียบเทียบ (Comparison Charts) ใช้สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เช่น ลักษณะยุงลายกับยุงก้นปล่อง ลมบกและลมทะเล เป็นต้น 6. แผนภูมิแบบตาราง (Table Charts) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์ เช่น ตารางการเดินรถ ตารางเรียน เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ เป็นต้น 7. แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Evolution Charts) ใช้แสดงความเปลี่ยนแปลงของสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ 8. แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Pictorial Charts) ใช้ชี้แจงส่วนต่าง ๆ ของภาพให้เห็นชัดเจน เช่น ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ อวัยวะภายในของมนุษย์ เป็นต้น 2. แผนสถิติ (Graph) แผนสถิติเป็นวัสดุลายเส้นที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข แผนสถิติแต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อถือ และเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับแผนสถิติ ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ลักษณะแผนสถิติที่ดี 1. ตัวอักษร เส้น สี ต้องชัดเจน น่าสนใจ 2. มีลักษณะดูแล้วเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน 3. แสดงแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างถูกต้อง 4. ควรนำเสนอในลักษณะเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล 5. แสดงขอมูลในลักษณะประมาณมิใช่เน้นความถี่ของข้อมูล ชนิดของแผนสถิติ แผนสถิติแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ 1. แผนสถิติแบบเส้น (Line or Curve Graph) เสนอข้อมูลได้ถูกต้องและรวดเร็วกว่าแบบอื่น ๆ แสดงแนวโน้มของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับเวลาได้อย่างชัดเจน 2. แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graph) เป็นแบบที่ทำได้ง่ายและอ่านเข้าใจง่ายกว่าทุกแบบ จึงนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง แผนสถิติแบบแท่งจะได้ผลดีในกรณีที่ข้อมูลเปรียบเทียบไม่เกิน 4-5 ชนิด 3. แผนสถิติแบบวงกลม (Cielr or Pie Graph) ใช้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบอัตราส่วนว่าเป็นอย่างไรของปริมาณทั้งหมดแผนสถิติแบบนี้มีข้อดีที่ช่วยให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนรวมได้พร้อมกัน 4. แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graph) ใช้แสดงผลิตผลของหน่วยงานต่าง ๆ โดยใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แทนข้อมูล เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ แผนสถิติแบบนี้จะนำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจ แต่ไม่ให้รายละเอียดมากนัก 5. แผนสถิติแบบแสดงพื้นที่ (Solid Graph) เป็นการใช้พื้นที่แสดงปริมาณของตัวเลขที่ต้องการเปรียบเทียบ แผนสถิติแบบนี้ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่าทุกแบบ 3. แผนภาพ (Diagrams) แผนภาพเป็นทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของสิ่งของหรือของระบบการทำงาน เช่น การทำงานของลูกสูบรถยนต์ เครื่องกรองน้ำ ส่วนประกอบของดอกไม้ เป็นต้น เนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภาพ ได้แก่ กระบวนการ ความสัมพันธ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ หรือโครงสร้างภายใน เป็นต้น ลักษณะแผนภาพที่ดี 1. มีรูปแบบง่าย ๆ แสดงแนวความคิดเดียว 2. ขนาดใหญ่พอสมควร รูปภาพ ตักอักษร อ่านได้ชัดเจน 3. ใช้สีแสดงความแตกต่างและความเหมือนกันเพื่อแสดงความหมายให้ชัดเจน 4. ควรใช้รูปภาพ สัญลักษณ์มากกว่าตัวหนังสือ เทคนิคการนำเสนอ 1. การใช้แผนภาพผู้เรียนต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้นก่อน 2. ควรใช้โสตทัศนวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสมประกอบ เช่น รูปภาพ ของจริง ภาพยนตร์ เป็นต้น 3. แผนภาพจะต้องมีคำอธิบาย จะช่วยป้องกันการสับสนของผู้เรียน 4. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสมอ 5. ควรจัดกิจกรรมต่อเนื่องในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรูปภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น